การวัดอัตราการเต้นของหัวใจ สะท้อนความหนักเบาในการซ้อม
และยังสะท้อนความสามารถการใช้อากาศในการทำงานวิ่ง
หากร่างกายทำงานหนัก..หัวใจก็ทำงานหนักตามไป
สะท้อนออกมาว่า…หัวเต้นแรงขึ้น
หากร่างกายทำงานเบา..หัวใจก็ทำงานเบาตามไป
สะท้อนออกมาว่า…หัวใจเต้นเบาลง
การซ้อมหนักเบา…มีผลต่อการพัฒนาของร่างกาย
ซ้อมหนักเกินไป..ร่างกายย่อมบอบช้ำ
ซ้อมเบาไป…การพัฒนาก็ไม่เกิด
ความพอดี..คือความถูกต้อง….
การดูความถูกต้อง…ก็ดูได้จากการเต้นของหัวใจ
หลักอันนี้…เป็นหลักของโค้ชโดยทั่วโลก
การวัดการเต้นของหัวใจนั้นง่าย..แม้เป็นค่าที่อาจดูว่าหยาบๆ..
ก็บอกอาการของร่างกายโดยรวมได้..อย่างรวดเร็ว
นักวิ่งที่ฝึกซ้อม…ย่อมต้องควบคุมความหนักมิให้มากเกินไป
ทั้งยังสามารถกำหนดความหนักให้อยู่ในเกณท์พอดี…
ไม่เกิดการบาดเจ็บ..และ สามารถพัฒนาสมรรถภาพได้
การวัดอัจตราการเต้นหัวใจจึงเหมาะสำหรับผู้ที่จริงจังกับการฝึกซ้อม..
ที่หวังผลในการแข่งขัน…ภายใต้ความควมคุมของผู้ฝึกสอน
ก่อนการวัดอัตราการเต้นของหัวใจ…
ต้องทราบความสามารถสูงสุดของแต่ละคนก่อน
ซึ่งได้จากสูตร อัตารการเต้นสูงสุด = 220 – อายุ
220 นี้…คืออัตราการเต้นของทารกแรกเกิด…คือ 220 ครั้ง /นาที
อัตรานี้จะลดลงตามอายุที่เพิ่มขึ้น
ดังนั้นเมื่อทราบอัตราการเต้นสูงสุดแล้ว….ก็กำหนดความหนักเบาได้ เช่น
การซ้อมเบา…ควรอยู่ที่ 50 %
การซ้อมหนักควรอยู่ที่ 90 %
การซ้อมสบาย…ก็กำหนดเอาจากนักกิฬาเอง..ของใครของมัน
พวกฝรั่ง..ทำอะไรชอบมีหลักเกณท์ที่แน่นอน
พวกนี้ชอบที่จะตรวจดูอัตราการเต้นของหัวในเป็นหลัก…
ทำให้การพูดคุยรู้เรื่องได้ดี
ทั้งยังสามารถกำหนดคว่ามหนักเบาได้ง่าย
นักวิ่งไทยควรหันมาสนใจเรื่องนี้ให้ดี
เป็นเรื่องที่ทำให้เกิดความปลอดภัยในการฝึกซ้อม…
ทั้งยังเห็นการเปลี่ยนแปลงได้